วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ขนมผักกาดหัว

ขนมผักกาดหัว
สูตรนี้กินมาเองแล้วหลายรอบ การันตีว่า อร่อยแน่ ป้าทำมาเป็นสิบๆปี ไม่หวงสูตร จดให้ใหญ่เลย ใครเอาไปทำแล้วเป็นไงบ้าง บอกกันบ้างนะ สัดส่วนมากน้อยกว่านี้ ลดทอนกันเอาเอง ป้าเค้าทำทีให้สำหรับคน 50-60
ส่วนผสม
1. หัวไช้เท้า 10 โล
2. แป้งข้าวเจ้า 1 โล
3. แป้งท้าวยายม่อม 8 ขีด
4. เกลือป่น 1/2 ช้อนโต๊ะ
5. ซอสเห็ดหอม 10 เหยาะ
6. ซีอิ้วขาวเห็ดหอม 15 เหยาะ
7. ถั่วลิสงแช่น้ำข้ามคืน ใส่เยอะมากน้อย ตามใจ
 
วิธีทำ
1. เอาไช้เท้ามาขูดเป็นเส้นใหญ่ คั้นน้ำออกเยอะๆ
2. คลุกส่วนผสมทั้งหมด เอาไปแผ่หนา-บางแล้วแต่ชอบ นึ่งจนสุก
3. ตัดเป็นชิ้นขนาดตามชอบ ทอดกรอบ หรือ พอเหลือง ตามชอบ
4. น้ำจิ้ม น้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ น้ำ เคี่ยวเข้ากันเหยาะ ซีอิ้วหวาน ปรุงรสตามชอบ
    หากกินเผ็ด ใส่พริกขี้หนูตามชอบ เป็นอันเสร็จ  หรือ ทานกับ ชิกโฉ่ว ก็เข้ากั๊น เข้ากัน
5. เครื่องเคียงมีหรือไม่มีก็ได้
    - จะเป็นกะหล่ำ+แครอทสับละเอียดแช่เย็นแบบเกีี๊ยวซ่า ก็ได้
    - ถั่วงอก+กุ้ยช่ายผัดซี้อิ้ว เค็มปะแล่มเบาๆ

    - ใบปอผัด +กระเทียมเจียวก็อร่อยไปอีกแบบ


 
อ้างอิง
1."ขนมผักกาด." จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 19 พฤษภาคม 2013, 06:26 UTC, <//th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94&oldid=4948370> [นำมาใช้เมื่อ 13:51, กันยายน 2, 2014]
2.ขนมผักกาด. (2013, พฤษภาคม 19). วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้นเมื่อ 13:51, กันยายน 2, 2014 จาก //th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94&oldid=4948370

3.อาสาสมัครวิกิพีเดีย. "ขนมผักกาด." วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. วิกิพีเดีย, สารานุกรมเสรี, 19 พ.ค. 2013. เว็บ. 13:51, กันยายน 2, 2014, <//th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94&oldid=4948370>.

4.อาสาสมัครวิกิพีเดีย, 'ขนมผักกาด', วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 19 พฤษภาคม 2013, 06:26 UTC, <//th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94&oldid=4948370> [เข้าถึง 2 กันยายน 2014]

5.อาสาสมัครวิกิพีเดีย, "ขนมผักกาด," วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, //th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94&oldid=4948370 (เข้าถึง กันยายน 2, 2014).

6.อาสาสมัครวิกิพีเดีย. ขนมผักกาด [อินเทอร์เน็ต]. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี; 2013 พ.ค. 19, 06:26 UTC [อ้างอิงเมื่อ 2014 ก.ย. 2] มาจาก: //th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94&oldid=4948370.

7.ขนมผักกาด, //th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94&oldid=4948370 (เข้าชมครั้งล่าสุดเมื่อ กันยายน 2, 2014).




วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สวนพฤกษศาสตร์ ต้นมะม่วง

ต้นมะม่วง
    ลักษณะต้นมะม่วง
มะม่วง เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์Anacardiaceae ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indicaเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดียปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ
สายพันธุ์
     มะม่วงมีพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ อกร่อง ตัวอย่าง เช่นเขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกหนา เหนียว ผลแก่รสมันน้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์ที่กินผลสุก รูปร่างยาวเรียว ผลดิบเนื้อขาว รสเปรี้ยวจัด ผลสุกสีเหลืองนวล รสหวานอกร่องทอง เป็นพันธุ์เก่าแก่ นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน ผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวที่ด้านท้อง ผลสุก เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อยฟ้าลั่น ผลกลม ท้ายแหลม ลูกขนาดกลาง นิยมรับประทานผลแก่ มีรสมัน เมื่อปอกเปลือก เนื้อมะม่วงจะปริแตกหนังกลางวัน ผลยาวคล้ายงาช้าง แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว สุกรสหวานแก้ว นิยมกินดิบ ผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว เมื่อเกือบสุกเปลือกจะมีสีอมส้มหรืออมแดงโชคอนันต์ รูปร่างยาว ปลายมน กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า นิยมนำไปทำมะม่วงดองมหาชนก เป็นลูกผสมของมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตจากอินเดีย ผลยาวรี สุกสีเหลืองเข้ม มีริ้วสีแดง เนื้อไม่เละ กลิ่นหอม จะสุกในช่วงที่มะม่วงพันธุ์อื่นวายแล้ว
การใช้ประโยชน์
ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้นแบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ

นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อยนิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำนิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยวหรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงกวนและอื่นๆ เช่น มะม่วงแก้ว พิมเสนเปรี้ยวนอกจากการนำมาเป็นอาหารแล้ว มะม่วงมีประโยชน์ด้านอื่นอีก ดังนี้
1.เนื้อไม้นำมาทำเฟอร์นิเจอร์
2.ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผักใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน
3.นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว




อ้างอิง
1.Chapter XX Mango
2.http://www.komchadluek.net/detail/20091126/38829/ซีพีสำเร็จผลิตมะม่วงนอกฤดูตั้งเป้าขยายตลาดส่งออกทั้งปี.html
3."National Fruit". Know India. Government of India. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
4."Mango tree, national tree". BDnews24.com. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
5.สรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง 34 ข้อ ! greenerald
6.ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม

นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะม่วง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 173 - 177




วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557